Skip to content Skip to footer

พันธกิจ

  1. Awareness เสริมสร้างการตระหนักรู้ และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในประเด็นสิทธิ ความหลากหลายทางเพศ และความเท่าเทียมระหว่างเพศ ให้แก่หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง และชุมชนในพื้นที่อีสาน
  2. Advocacy รณรงค์ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการผลักดันประเด็นสิทธิ การเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมและสุขภาพ การรับรองทางกฎหมาย  และการขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ เพื่อสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ
  3. Networking ส่งเสริมให้เกิดการสร้างกลุ่ม เครือข่าย และการประสานความร่วมมือระหว่างชุมชนความหลากหลายทางเพศอีสาน และองค์กรภาคีอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเอกชน หน่วยงานรัฐ และภาคประชาสังคมทั้งในระดับประเทศ และระหว่างประเทศ

  4. Cooperating เป็นศูนย์ให้คำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับกลุ่มความหลากหลายทางเพศ และประสานงานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

ประวัติองค์กร

มูลนิธิเครือข่ายความหลากหลายทางเพศอีสาน (Isaan Gender Diversity Network Foundation) : IGDN ก่อตั้งขึ้นจากกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่มีต้นรากและผูกพันกับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสร้างองค์กรที่ขับเคลื่อนประเด็นความหลากหลายทางเพศในมิติต่างๆ อาทิเช่น การเมือง สิทธิ กฎหมาย วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การศึกษา สิทธิชุมชน สุขภาพ ฯลฯ โดยมีความเชื่อมั่นว่า ผู้คนในท้องถิ่นในฐานะเจ้าของประเด็น สามารถบอกเล่าเรื่องของตนได้ดีที่สุด ในอีกด้านหนึ่งยังมุ่งสร้างพันธมิตรและเพื่อนร่วมทาง (Ally) ทั้งในกลุ่มผู้หญิง กลุ่มแรงงาน นักวิชาการ นักกฎหมาย นักการเมือง เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ เกษตรกร กลุ่มการเมืองระดับชาติและท้องถิ่น กลุ่มข้าราชการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ ผู้นำศาสนา บุคลกรและหน่วยบริการทางการแพทย์และประชาชนทั่วไป ในพื้นที่เพื่อช่วยยกระดับและสร้างความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

  • 2563 เดวิด  เสตร็คฟัสส์ นักวิชาการและผู้บริหารสื่อเดอะอีสานเรคคอร์ด จัดการประชุมภาคประชาสังคม นักวิชาการ และศิลปิน ที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนย์ในประเด็นต่างๆ ในพื้นที่ภาคอีสาน  และสนับสนุนให้จัดตั้งกลุ่มผู้มีความสนใจประเด็นความหลากหลายทางเพศขึ้น
  • 2563จัดประชุมเพื่อสร้างเครือข่ายความหลากหลายทางเพศที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ม.ขอนแก่น) ระหว่างวันที่ 24 – 25 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 40 คน ซึ่งมาจากเกือบทุกจังหวัดภาคอีสาน และทำกิจกรรมแห่ขบวนพาเหรด Pride (ไพร่) และแห่ธงเพื่อสร้างความเท่าเทียมในสังคม
  • 2564 ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 แพร่ระบาด จากการประชุมออนไลน์ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานประเด็นความหลากหลายทางเพศขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยใช้ชื่อว่า “เครือข่ายความหลากหลายทางเพศอีสาน” และได้มีการออกแบบสัญลักษณ์เครือข่ายรูปแคน จากผลงานการออกแบบของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อสะท้อนถึงบริบทสังคมในพื้นที่ภาคอีสาน
  • 2565 ได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุน Save The Children และ AJWS ในการทำกิจกรรมขับเคลื่อนประเด็นสิทธิความหลากหลายทางเพศและความเป็นธรรมทางเพศผ่านกิจกรรมไพรด์ ในจังหวัดขอนแก่นและพื้นที่อีสาน จนถึงปัจจุบัน
  • 2567 จดทะเบียนเป็นมูลนิธิ (องค์กรสาธารณะประโยชน์แบบไม่แสวงหาผลกำไร) ภายใต้ชื่อ “มูลนิธิเครือข่ายความหลากหลายทางเพศอีสาน”

ที่มาและความสำคัญ

สิทธิของกลุ่มความหลากลายทางเพศการเรียกร้องความเท่าเทียมระหว่างเพศกำลังเป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญและความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในระดับสากล เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goal ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศ และการบูรณาการความเท่าเทียมระหว่างเพศควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ดังเห็นได้จาการตั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 5 ที่ผนวกประเด็นความเท่าเทียมระหว่างเพศเข้าไป

ในสังคมไทย พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ ที่ประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา มีจุดมุ่งหมายขจัดและลงโทษการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ โดยรวมถึงการคุ้มครองบุคคลที่มีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด ซึ่งหมายถึงกลุ่มบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศหรือการแสดงออกทางเพศที่แตกต่างจากชาย – หญิง อันได้แก่ คนข้ามเพศ ชายรักชาย หญิงรักหญิง และอื่น ๆ หรือที่เราเรียกว่า LGBTIQ นั่นเอง

ในการดำเนินการด้านการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศให้แก่กลุ่ม LGBTIQN+ นั้น มีมาอย่างยาวนานในประเทศไทย ในปัจจุบันองค์กรต่างๆ ทั้งองค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรในประเทศก็ได้ให้ความสำคัญในการรณรงค์ แก้ไขปรับปรุง และสร้างความเข้าใจและแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ และได้มีการผลักดันทั้งจากภาครัฐและในเอกชน ทั้งนี้ยังอาจจำกัดพื้นที่อยู่ในส่วนกลางหรือเมืองใหญ่เท่านั้น ทั้งที่จริงแล้ว พื้นที่ท้องถิ่นก็ถือเป็นพื้นที่สำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ

ในพื้นที่ภาคอีสานมีการรับรู้การมีตัวตนของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQN+) ในชุมชน หมู่บ้าน จังหวัด อาทิเช่น พื้นที่ทางวัฒนธรรม หมอลำ เป็นต้น ทว่า การก่อให้เกิดการตระหนักรู้ ตื่นตัวในวงกว้างยังเป็นสิ่งที่ท้าทาย และมีข้อจำกัด

เครือข่ายความหลากหลายทางเพศอีสานได้ก่อตั้งขึ้นจากกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่มีต้นรากและผูกพันกับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสร้างองค์กรที่จะขับเคลื่อนประเด็นความหลากหลายทางเพศในมิติต่างๆ อาทิเช่น การเมือง สิทธิ กฎหมาย วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การศึกษา สิทธิชุมชน สุขภาพ ฯลฯ โดยมีความเชื่อมั่นว่า ผู้คนในท้องถิ่น เจ้าของประเด็น สามารถจะบอกเล่าเรื่องของตนได้ดีที่สุด ในอีกด้านหนึ่งเครือข่ายฯ มุ่งสร้างพันธมิตรและเพื่อนร่วมทาง (Ally) ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มผู้หญิง กลุ่มแรงงาน นักวิชาการ นักกฎหมาย นักการเมือง เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ เกษตรกร กลุ่มการเมืองระดับชาติและท้องถื่น กลุ่มข้าราชการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ ผู้นำศาสนา บุคลกรและหน่วยบริการทางการแพทย์และประชาชนทั่วไป ในพื้นที่เพื่อช่วยยกระดับและสร้างความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

Customization Packages

Regular
$45
Installation + Logo Change
  • The template will be installed on your server exactly as the demo looks like. You will get access to the admin panel, so you can manage your website
  • We will replace the template’s logo with yours on each page of the template. The logo has to be  in good quality in .PSD, .EPS, .PNG, .JPG format. Logo width should be 300px and 600px
Grab this deal
Advanced
$395
Ready To Use Website
  • Theme installation on you server with your logo
  • Google map with your address set
  • Content and images replacement up to 6 pages (without layout change)
  • Removing elements that you do not need on your website
  • Social icons set (without changing theme layout)
  • Color scheme replacement
Grab this deal
Premium
$699
Full Website Package
  • WordPress and theme installation
  • Customization of website branding
  • Color scheme replacement
  • Content setup (adding 6 pages, 6 posts, Revolution sliders)
  • SEO Essentials
  • Website speed optimization
Grab this deal
About IGDN*

เครือข่ายความหลากหลายทางเพศเป็นองค์กรภาคประชาสังคมในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ สร้างเครือข่าย และผลักดันนโยบาย ในประเด็นสิทธิความหลากหลายทางเพศ ความเท่าเทียมและความเป็นธรรมระหว่างเพศในพื้นที่อีสาน

Contacts
About IGDN

เครือข่ายความหลากหลายทางเพศเป็นองค์กรภาคประชาสังคมในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ สร้างเครือข่าย และผลักดันนโยบาย ในประเด็นสิทธิความหลากหลายทางเพศ ความเท่าเทียมและความเป็นธรรมระหว่างเพศในพื้นที่อีสาน

Contacts
IGDN.or.th © 2025. All Rights Reserved.